เห็ดแครง

เห็ดแครง  เป็นเห็ดที่มีขนาดเล็กรูปร่างลักษณะคล้ายพัด (fan-shaped) ที่ฐานมีก้านสั้นๆยาวประมาณ 0.1-0.5 ซม. ดอกเห็ดกว้างประมาณ 1-3 ซม. ผิวด้านบนมีสีขาวปนเทาปกคลุมทั่วไป ลักษณะดอกเหนียวและแข็งแรง ด้านใต้ของดอกมีครีบเป็นร่องสีน้ำตาลอ่อน ขอบดอกหยักคล้ายขอบเปลือกหอยแครง ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ เมื่อแห้งด้านใต้ของดอกเห็ดมีครีบมีลักษณะแตกเป็นร่อง (spilt-gill) พิมพ์สปอร์มีสีขาว สปอร์มีสีใสรูปร่างเป็นทรงกระบอกขนาด 3-4x1-1.5 ไมครอน เนื่องจากเห็ดแครงมีขึ้นอยู่ทั่วโลก ในสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน ลักษณะดอกเห็ดอาจแตกต่างกันในแต่ละท้องที่

เห็ดแครง หรือเห็ดตีนตุ๊กแก ชื่อวิทยาศาสตร์ : Schizophylum commune Fr เป็นเห็ดที่ขึ้นอยู่ทั่วโลกและงอกได้ตลอดปี พบขึ้นอยู่กับวัสดุหลายชนิด เช่น ท่อนไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ใบหญ้า กระดาษ หรือแม้แต่บนกระดูกปลาวาฬก็พบเห็ดชนิดนี้ขึ้นอยู่ ในประเทศไทยมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น  โดยภาคเหนือเรียก เห็ดแก้น เห็ดตามอด ภาคใต้เรียก เห็ดยาง เพราะพบบนไม้ยางพาราและนังพบตามกิ่งไม้จำพวกสะตอ ภาคกลางเรียก เห็ดมะม่วง เนื่องจากขึ้นบนไม้มะม่วง และตามต้นกระถินณรงค์ นอกจากนี้ยังพบขึ้นบนไม้อื่นๆ เช่น ไม้ยูคาลิปตัส ไม้สน ฯลฯ ทั้งนี้จะเห็นเห็ดขึ้นมากมายในฤดูฝนเป็นที่นิยมรับประทานกันในเขตภาคใต้ ภาคเหนือและภาคอีสานตอนบน

เห็ดแครงมีราคาจำหน่ายค่อนข้างสูง มีจำหน่ายทั้งในรูปดอกสดและดอกเห็ดแห้ง(ตากแห้งเก็บไว้กินนอกฤดู)
เห็ดแครงเป็นเห็ดที่เพาะปลูกได้ง่ายมากชนิดหนึ่ง สามารถใช้วัสดุในการเพาะหลายชนิด ขั้นตอนในการเพาะเลี้ยงเห็ดแครงจะเหมือนกับเห็ดชนิดอื่นๆ ยกเว้นสูตรอาหารและเทคนิคการเพาะ การดูแลเฉพาะตัว ซึ่งต่างไปบ้าง เนื่องจากเห็ดแครงต้องการอาหารเสริมเป็นโปรตีนและคาร์โบไฮเดรทสูง เนื่องจากใช้ธาตุอาหารมากในการเจริญของเส้นใยที่รวดเร็ว และเนื่องจากวัสดุเพาะเห็ดแครงที่มีธาตุอาหารสูงนี่เอง อาจทำให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อราชนิดอื่นอาทิ ราเขียว และราส้มได้ง่าย จนเป็นสาเหตุให้ผลผลิตเสียหายได้

สภาพโรงเรือนเปิดดอกของเห็ดแครงจะใกล้เคียงกับโรงเรือนเห็ดหูหนู เพราะชอบความชื้นในบรรยากาศสูง การระบายอากาศต้องดี การรดน้ำควรจะติดระบบสปริงเกอร์ ให้น้ำเช้าและเย็น หากรดน้ำด้วยมือจะต้องใช้หัวฉีดพ่นฝอย มิฉะนั้นก้อนเห็ดจะดูดน้ำเข้าไปทำให้ก้อนเชื้อเสีย และปนเปื้อนจุลินทรีย์อื่น การวางก้อนเชื้อจะต้องวางบนชั้นหรือแขวนแบบเห็ดหูหนู หลังจากกรีดข้างถุงและรดน้ำเห็ดไปประมาณ 5 วัน จะเก็บผลผลิตรุ่นที่ 1 ได้ หลังจากนั้นเห็ดจะพักตัวอีก 5 – 7 วัน รดน้ำเป็นปกติจะเก็บรุ่นที่ 2 ตามลำดับ ซึ่งผลผลิตจะหมดให้ขนก้อนเก่าไปทิ้งและพักโรงเรือนให้แห้งเป็นเวลา 15 วัน จึงนำถุงเห็ดรุ่นใหม่เข้าเปิดดอกต่อไป

การเก็บผลผลิตควรเก็บเห็ดแครงในระยะที่ดอกมีสีขาวนวล ก่อนที่จะสร้างสปอร์ เพราะเห็ดแครงอ่อนมีเนื้อนุ่ม รสหวานหอม หากทิ้งไว้ให้แก่จะมีสีน้ำตาลคล้ำไม่น่ารับประทาน เนื้อดอกจะเหนียว นอกจากนี้หากปล่อยไว้จนเห็ดสร้างและปล่อยสปอร์ออกมา บางท่านอาจแพ้สปอร์ดังกล่าวได้

ทั้งนี้ก้อนเชื้อที่เก็บผลผลิตหมดแล้วควรเก็บทิ้งให้เป็นที่ และหมักให้ย่อยสลายดีก่อนนำไปเป็นปุ๋ย เพราะเห็ดแครงสามารถย่อยสลายเนื้อไม้ได้ดี ถึงแม้จะเป็นไม้ที่ตายแล้วก็ตาม (Wood decay) ซึ่งอาจจะไปทำอันตรายต่อผลิตผลการเกษตรบางชนิดได้

คุณค่าทางโภชนาการ :

เห็ดแครง 100 กรัม ให้ โปรตีน 17.0 กรัม   ไขมัน 0.5 กรัม   แคลเซียม 90 มิลลิกรัม   ธาตุเหล็ก 280 มิลลิกรัม   ฟอสฟอรัส 640 มิลลิกรัม
เห็ดแครงเป็นเห็ดที่มีแร่ธาตุอาหารต่างๆค่อนข้างมาก นอกจากใช้บริโภคเป็นอาหารบำรุงร่างกายทำให้สุขภาพดีได้หลากหลายเมนู เช่น นำมาเจียวกับไข่ แกงกะทิ ห่อหมก งบเห็ดแครงแล้ว ยังมี สรรพคุณทางยาในด้านการรักษาโรคต่างๆมากมาย เช่น ช่วยขับปัสสาวะ ต่อต้านการเจริญเติบโตของเซลมะเร็ง ในประเทศญี่ปุ่นยังใช้เป็นยาเนื่องจากพบสารประกอบพวก Polysaccharide ชื่อว่า Schizophyllan (1.3 β - glucan) ซึ่งมีคุณสมบัติการต่อต้านเชื้อไวรัส และยับยั้งเซลล์มะเร็งชนิด Sarcoma 180 และ Sarcoma 87 โดยทดลองใน White mice ยับยั้งได้ 70 - 100 % 

ส่วนในประเทศจีนมีการแนะนำให้คนไข้ที่เป็นโรคระดูขาว รับประทานเห็ดแครงที่ปรุงกับไข่เพื่อรักษาโรค และรับประทานร่วมกับใบชาโดยต้มเห็ดแครง 9 – 16 กรัม กับน้ำกินวันละประมาณ 3 ครั้ง ใช้เป็นอาหารบำรุงร่างกาย ในประเทศญี่ปุ่นใช้เป็นยาเนื่องจาก พบสารประกอบพวก polysaccharide ชื่อว่า Schizophyllan (1,3 B-glucan) ซึ่งมีคุณสมบัติในการต่อต้านเชื้อไวรัสและยับยั้งเซลมะเร็งชนิด Sarcoma 180 และ Sarcoma 37 โดยทดลองใน หนูขาวยับยั้งได้ร้อยละ 70 – 100 จึงคาดว่าน่าจะเป็นเห็ดที่มีศักยภาพดีในอนาคตต่อไป

Article Credit : กรมวิชาการเกษตร l คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์




เห็ดหัวลิง


มีชื่อสามัญ ว่า Monkey’s head หรือ Lion’s Mane ทางญี่ปุ่นเรียก Yamabushitake

ส่วนชื่อที่เป็นทางการในประเทศไทย ตั้งโดยสมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทย
ชื่อเห็ดภู่มาลา 60”

มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ ว่า Hericium erinaceus(Bull Ex Fr) หรือ Hericium erinaceum

ในประเทศจีนเรียกว่า เห็ดเหอโถวกู ประวัติของเห็ดหัวลิง ตามเอกสารวิชาการระบุว่า มีแหล่งกำเนิดอยู่ในเมือง เหอหลงเจียง ประเทศจีน ส่วนในประเทศไทยมีชาวจีนชื่อ นายฮั่งจง แซ่หลู นำเข้ามาเพาะครั้งแรกที่ดอยแม่สลอง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ในระยะแรกนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านสมุนไพรรักษาโรคกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก รูปร่างของเห็ดหัวลิงมีลักษณะทรงกลม เป็นเส้นฟูคล้ายภู่มาลาของทหาร สีขาวสะอาด และมีกลิ่นหอมคล้ายเห็ดนางรม ขนาดเฉลี่ย 8-10 ดอก ต่อกิโลกรัม 

ค่าวิเคราะห์สารอาหารในเห็ดแห้ง 100 กรัม ประกอบด้วย 

โปรตีน 26.3 กรัม (ซึ่งมีมากกว่าในเห็ดหอม 1 เท่า)
ไขมัน 4.2 กรัม 
คาร์โบไฮเดรต 44.9 กรัม 
ใยเซลลูโลส 4.2 กรัม 
ธาตุฟอสฟอรัส 856 มิลลิกรัม 
ธาตุเหล็ก 18 มิลลิกรัม 
แคลเซียม 2 มิลลิกรัม 
วิตามิน บี 1 0.69 มิลลิกรัม 
วิตามิน บี 2 1.89 มิลลิกรัม 
และพลังงาน 323 กิโลแคลอรี 

มีกรดอะมิโนอยู่ 16 ชนิด ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่จำเป็นสำหรับร่างกายอยู่ถึง 7 ชนิด

แพทย์จีนแผนโบราณเห็นว่า เห็ดหัวลิงมีรสชาติหวาน มีฤทธิ์อ่อนใช้บำรุงม้ามและกระเพาะ เพิ่มกำลังวังชา และต่อต้านมะเร็ง ช่วยในการรักษามะเร็งในระบบทางเดินอาหาร
โดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็งที่ร่างกายอ่อนแอมาก นอกจากนี้ยังช่วยลดอาการข้างเคียงจากการให้เคมีบำบัด และรังสีบำบัดได้ด้วย

ดังนั้น เห็ดหัวลิงจึงได้รับสมญาว่าเป็น 1 ใน 4 ของอาหารชั้นเลิศในประเทศจีน

โดยสูตรอาหารที่ใช้เพาะเห็ดมีหลายสูตรแต่ที่เกษตรกรที่อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ใช้คือ

มีชื่อสามัญ ว่า Monkey’s head หรือ Lion’s Mane ทางญี่ปุ่นเรียก Yamabushitake

ส่วนชื่อที่เป็นทางการในประเทศไทย ตั้งโดยสมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทย
ชื่อเห็ดภู่มาลา 60”

มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ ว่า Hericium erinaceus(Bull Ex Fr) หรือ Hericium erinaceum

ในประเทศจีนเรียกว่า เห็ดเหอโถวกู ประวัติของเห็ดหัวลิง ตามเอกสารวิชาการระบุว่า มีแหล่งกำเนิดอยู่ในเมือง เหอหลงเจียง ประเทศจีน ส่วนในประเทศไทยมีชาวจีนชื่อ นายฮั่งจง แซ่หลู นำเข้ามาเพาะครั้งแรกที่ดอยแม่สลอง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ในระยะแรกนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านสมุนไพรรักษาโรคกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก รูปร่างของเห็ดหัวลิงมีลักษณะทรงกลม เป็นเส้นฟูคล้ายภู่มาลาของทหาร สีขาวสะอาด และมีกลิ่นหอมคล้ายเห็ดนางรม ขนาดเฉลี่ย 8-10 ดอก ต่อกิโลกรัม

ค่าวิเคราะห์สารอาหารในเห็ดแห้ง 100 กรัม ประกอบด้วย

โปรตีน 26.3 กรัม (ซึ่งมีมากกว่าในเห็ดหอม 1 เท่า)
ไขมัน 4.2 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 44.9 กรัม
ใยเซลลูโลส 4.2 กรัม
ธาตุฟอสฟอรัส 856 มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก 18 มิลลิกรัม
แคลเซียม 2 มิลลิกรัม
วิตามิน บี 1 0.69 มิลลิกรัม
วิตามิน บี 2 1.89 มิลลิกรัม
และพลังงาน 323 กิโลแคลอรี

มีกรดอะมิโนอยู่ 16 ชนิด ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่จำเป็นสำหรับร่างกายอยู่ถึง 7 ชนิด

แพทย์จีนแผนโบราณเห็นว่า เห็ดหัวลิงมีรสชาติหวาน มีฤทธิ์อ่อนใช้บำรุงม้ามและกระเพาะ เพิ่มกำลังวังชา และต่อต้านมะเร็ง ช่วยในการรักษามะเร็งในระบบทางเดินอาหาร
โดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็งที่ร่างกายอ่อนแอมาก นอกจากนี้ยังช่วยลดอาการข้างเคียงจากการให้เคมีบำบัด และรังสีบำบัดได้ด้วย

ดังนั้น เห็ดหัวลิงจึงได้รับสมญาว่าเป็น 1 ใน 4 ของอาหารชั้นเลิศในประเทศจีน

โดยสูตรอาหารที่ใช้เพาะเห็ดมีหลายสูตรแต่ที่เกษตรกรที่อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ใช้คือ
ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100 กิโลกรัม
รำละเอียด 10 กิโลกรัม
ยิปซั่ม 1 กิโลกรัม
โดโลไมต์ หรือภูไมท์ 1 กิโลกรัม
แป้งข้าวเหนียว 1 กิโลกรัม
ปุ๋ยเคมีสูตรตัวกลาง (0-3-0) 1 กิโลกรัม
ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม
ไทอามีน 10 กรัม

สำหรับวิธีการการเพาะเห็ดชนิดนี้มีวิธีการเดียวกับการเพาะเห็ดชนิดอื่น สำคัญอยู่ที่อากาศเย็นกว่า โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการเจริญของเส้นใยในก้อนเชื้อ จะอยู่ที่ประมาณ 23-32 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการออกดอกอยู่ที่ประมาณ 15-28 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 80-95

Credit : http://siweb.dss.go.th


เห็ดขอน
เห็ดขอน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lentinus polychrous Lev. ทางภาคเหนือเรียก เห็ดลม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า เห็ดบด เห็ดขอนดำ หรือ เห็ดกระด้าง ส่วนเห็ดขอนขาว(log white fungi)  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lentinus squarrosulus Mont.

ตามธรรมชาติเห็ดทั้ง 2 ชนิดมักพบขึ้นตามขอนไม้ที่ผุพัง หักโค่น และเป็นไม้เนื้อแข็งในป่าเขตร้อนชื้น เช่น ไม้เต็ง รัง เทียง ตะเคียน และไม้กระบาก และไม้มะม่วงแต่สีดอกเห็ดค่อนข้างดำ จึงเรียกแยกกันให้ชัดเจนว่าเห็ดขอนขาว และหรือ เห็ดขอนดำ ในภาคกลางพบขึ้นเองกับตอมะม่วงในฤดูฝน จึงเรียก เห็ดมะม่วง แต่เมื่อเข้าตลาดพ่อค้าเรียก เห็ดขอน เหมือนกันหมด แม้จะเป็นเห็ดในสกุลของเห็ดหอมตามการจำแนกของนักพฤกษศาสตร์ แต่ลักษณะรูปร่างหน้าตาเหมือนกับเห็ดนางรม เพียงแต่ดอกบางกว่า เหนียวกว่า และมีกลิ่นเห็ด (หรือ มัชรูมอโรน่า) หอมกว่า จึงเป็นที่นิยมบริโภคกันมากในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคเหนือ พบในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝนหรือฤดูฝนต่อฤดูหนาว ที่อุณหภูมิกลางวัน และกลางคืนต่างกันมากๆ เป็นเห็ดพื้นเมืองที่มีรสชาติดี  ให้คุณค่าทางอาหารสูง นิยมบริโภคในขณะที่ดอกยังอ่อน เพราะจะกรุบเหนียว ลื่นลิ้นให้ความรู้สึก ในการรับประทานคล้ายเนื้อสัตว์ เมื่อแก่จะเหนียวและแข็ง ให้รสชาติหวานเหนียวเล็กน้อย

เห็ดขอนมีสีขาวคล้ายเห็ดนางรม ดอกเห็ดกว้าง 2–10 เซนติเมตร ตรงกึ่งกลางของดอกเห็ดบุ๋มลงเล็กน้อย ดอกคล้ายรูปถ้วย รูปกรวยตื้น หรือจานก้นลึก ผิวหมวกเห็ดมีขนขึ้นปกคลุมเป็นกระจุก มองดูคล้ายเกล็ด ก้านดอกเหนียวและแข็ง ติดกับหมวกตรงกลางหรือด้านข้าง ส่วนมากจะไม่อยู่กึ่งกลางดอก แต่ค่อนไปข้างใดข้างหนึ่ง ก้านยาว 2–5 เซนติเมตร กว้าง 0.3–0.8 เซนติเมตร ครีบมีสีขาว หรือสีครีม กว้าง 1.5–2 เซนติเมตร ติดกับก้านดอก เนื้อบางเหนียวเมื่อยังอ่อน ดอกเห็ดเรียงชิดกัน เบสิเดียมรูปกระบองขนาด 17–22 x 3.5–5 ไมครอน พิมพ์ สปอร์สีขาว สปอร์ใส ผนังเรียบ รูปยาวรี ขนาด5–6.5 x 1.7–2.5 ไมครอน

การเพาะเห็ดขอนสามารถทำได้ทั้งการเพาะในขอนไม้แบบเห็ดหูหนู และการเพาะด้วยขี้เลื่อยในถุงพลาสติกแบบการเพาะเห็ดนางฟ้า นางรม

หากเพาะในขอนไม้ นิยมใช้ท่อนไม้สดเจาะรูขนาดครึ่งนิ้ว ลึกทะลุเปลือกไม้เข้าไปในเนื้อไม้ส่วนหนึ่ง ใส่เชื้อเห็ดปิดฝารูบ่ม นำไปวางในเรือนเพาะให้เส้นใยเจริญ 30 วัน คอยรดน้ำจนเห็ดขึ้น สามารถเก็บผลผลิตได้หลายรอบ
การเพาะเห็ดขอนในถุงพลาสติกนั้น ไม่ควรใช้โรงเรือนเดียวกับการเพาะเห็ดนางรม นางฟ้าที่ชอบอากาศเย็น เพราะเห็ดขอนสร้างดอกได้ดีในสภาพอากาศร้อนชื้น โรงเรือนต้องปิดมิดชิด แต่มีการถ่ายเทอากาศที่ดีจึงควรแยกโรงเรือนต่างหาก

โรงเรือนหรือสถานที่สาหรับบ่มเส้นใย อุณหภูมิควรอยู่ที่ประมาณ 28-32 องศาเซลเซียส เพื่อให้เส้นใยเจริญ ประมาณ 20-30 วัน เมื่อเส้นใยเห็ดเกินเต็มที่แล้ว เปิดจุกสาลีออกจากปากถุงทิ้งไว้ 1 วัน และในวันรุ่งขึ้นนำคอพลาสติกออก ทิ้งไว้อีก 1 วัน ในวันที่ 3 จึงใช้มีดตัดปากถุงรดน้ำวันละ 2 ครั้ง เพื่อรักษาความชื้น ในช่วงเช้าและบ่าย ที่ก้อนเชื้อและบริเวณโรงเรือนเพื่อรักษาความชื้นภายในโรงเรือนให้ได้ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ ประมาณ 3-5 วัน ก็สามารถเก็บเห็ดมารับประทานหรือจำหน่ายได้

โรงเรือนเปิดดอกเห็ดลมและเห็ดขอนขาว ควรให้มีแสงผ่านเข้าภายในโรงเรือนได้ประมาณ 60-70% ให้ความชื้นโดยการให้น้ำในโรงเรือนและบริเวณก้อนเชื้อ ให้มีความชื้นสัมพัทธ์ 70-80% ปรับโรงเรือนให้มีสภาพร้อนชื้น อุณหภูมิประมาณ 33-36 องศาเซลเซียส ประมาณ 2-3 วัน ดอกเห็ดจะเริ่มงอก จากนั้นปรับอุณหภูมิในโรงเรือนให้ลดลงมีอากาศถ่ายเทได้ดี ความชื้นสัมพันธ์ 60-70% มีแสงสว่างปานกลางเพื่อให้ดอกเห็ดเจริญเติบโตต่อไป ในระหว่างให้ผลผลิตแต่ละครั้งเส้นใยเห็ดลมจะพักตัวประมาณ 15-20 วัน สามารถเก็บผลผลิตได้ประมาณ 5 รุ่น ภายในเวลา 3 เดือน
การเก็บเกี่ยวผลผลิตควรเก็บในช่วงที่ดอกยังตูมอยู่โดยใช้มีดคมๆ ตัด เก็บได้วันละ 2 เวลา คือ ช่วงเช้าและบ่าย หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตรุ่นแรกแล้วให้เก็บก้อนเชื้อไว้ในสภาพที่แห้ง จนกว่าจะต้องการให้เกิดดอกครั้งต่อไป

ศัตรูสำคัญของเห็ดขอนคือไรไข่ปลา และราเขียวเหมือนในเห็ดหูหนู การป้องกันกำจัดจะใช้น้ำหมักสมุนไพร เช่น ใบน้อยหน่า หัวข่าแก่่ ตะไคร้หอม ฉีดพ่น สามารถควบคุมศัตรูพืชได้ และทำให้ลดต้นทุนการใช้สารเคมีลงและมความปลอดภัยต่อผู้บริโภค

เห็ดขอนมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง แก้ไขพิษ ช่วยระบบขับถ่ายทางานดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับเห็ดขอนขาวคือ การต้านปฏิกิริยาออกซิเดชันจากสารอนุมูลอิสระ ซึ่งได้จากสารสกัดหยาบของส่วนเซลล์ของเห็ดขอนขาว (Lentinus squarrosulus) ด้วย ethyl acetate สำหรับเห็ดกระด้างสดหรือแบบแห้ง สามารถนำมาต้มกับน้ำจนเดือดให้ผู้ที่มีร่างกายอ่อนเพลียจากการทำงานหรือไม่แข็งแรงเนื่องจากเพิ่งฟื้นจากไข้ สมรรถภาพทางเพศไม่ค่อยจะดี รับประทานทั้งน้ำและเนื้อเห็ดเป็นประจำจะทำให้ร่างกายแข็งแรง จากงานวิจัย พบว่าแคปซูล”  จากสารสะกัดเห็ดกระด้าง   สามารถลดไขมันในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ติดเชื้อ HIV ได้ผลดี จะทำให้ผู้ป่วยมีอายุยืนยาวต่อไปได้อีก  สำหรับราคาของเห็ดกระด้างค่อนข้างสูงกว่าเห็ดพื้นเมืองชนิดอื่นๆ  จึงได้รับการพัฒนาเพื่อการเพาะปลูกเป็นการค้า
คุณค่าทางอาหาร : เห็ดขอนขาว 100 กรัม ให้พลังงาน 44 กิโลแคลอรี่ น้า 87.9 กรัม  โปรตีน 3.3 กรัม  เส้นใย 3.2 กรัม  ฟอสฟอรัส 163 มิลลิกรัม 
Article Credit : กรมวิชาการเกษตร


เห็ดโคนญี่ปุ่น Yanagi Mutsutake

เห็ดโคนญี่ปุ่น (ยานางิ)
ชื่ออื่น Yanagi Mutsutake (เห็ดยานากิ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Agrocybe cylindracea (Dc. Ex. Fr.) Maire.
สายพันธุ์ สีขาว , สีน้ำตาลเข้ม

ดอกเห็ดมีสีน้ำตาลอ่อน จนถึงน้ำตาลออกส้ม ก้านดอกสีขาวเนื้อแน่น รสชาติของเห็ดโคนญี่ปุ่นจะเป็น
เอกลักษณะเฉพาะตัว คือจะมีหมวกดอกที่เหนียวนุ่มเหมือนเห็ดหอม แต่บริเวณขาของเห็ดโคนญี่ปุ่นจะกรอบอร่อย เห็ดโคนญี่ปุ่น เป็นเห็ดที่ใช้ประกอบอาหารได้ดีโดยเฉพาะก้านดอกซึ่งมีเนื้อเยื่อยาวและแน่น เวลาเคี้ยว จะได้รสชาติดีคล้ายเห็ดโคน ทำอาหารได้ทั้งผัด ยำ และต้มแกง ไม่เสียรูปร่างของเห็ด ให้คุณค่าทางอาหารสูงเช่นเดียวกับเห็ดชนิดอื่นๆ

การทำให้เกิดดอกเห็ดและเก็บเกี่ยว 

เมื่อเส้นใยเห็ดเดินเต็มถุง ย้ายก้อนเชื้อเห็ด ไปยังโรงเรือนเพื่อเปิดดอก อุณหภูมิภายในโรงเรือนประมาณ 25-30 C และความชื้นประมาณ 80-90 % การเปิดดอกโดยถอดจุกสำลีออก นำถุงก้อนเชื้อมาวางเรียงไว้บนชั้นเพาะ ในโรงเรือนที่มีอากาศถ่ายเทได้ดีในช่วงเช้า และบ่าย จะให้น้ำก้อนเชื้อ และบริเวณภายในโรงเรือน วันละประมาณ 2 ครั้ง เพื่อให้มีความชื้นสม่ำเสมอ หลังเปิดดอกประมาณ 5-7 วันจะเกิดดอกเห็ด และสามารถนำไปบริโภคได้

เห็ดยานางิหรือเห็ดโคนญี่ปุ่น เดิมเป็นเห็ดที่เกิดในท่อนไม้ผุตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบัน ได้มีการศึกษา และพัฒนาการเพาะเลี้ยงในเมล็ดธัญพืช แล้วเปลี่ยนมาเป็นขี้เลื่อย ที่เพิ่มอาหารเสริมในอัตราที่เหมาะสม ทำให้เห็ดชนิดนี้เจริญได้ดีในเวลาต่อมา เห็ดยานางิ เป็นเห็ดที่มีรสชาติดี โดยมีลักษณะเนื้อดอก ก้านดอก มีความกรอบแน่น เนื้อคล้ายเห็ดโคน กลิ่นหอมนิยมใช้ประกอบอาหารหลายชนิด นอกจากนี้ยังสามารถเก็บรักษาไว้ในตู้เย็นได้นานกว่า 1 สัปดาห์ โดยยังมีความสด รูปร่าง ขนาดน้ำหนัก และสีสันไม่เปลี่ยนแปลง การเพาะเลี้ยง สามารถกระทำได้ง่าย เหมือนการเพาะเห็ดถุงทั่วไป และยังเพาะเลี้ยง ได้ตลอดปี จึงมีแนวโน้มว่าจะเป็นเห็ดเศรษฐกิจที่มีอนาคต

ปัญหาอุปสรรค

ปัญหาอุปสรรคของการทำเห็ดยานางิ หรือเห็ดโคนญี่ปุ่นนี้ ก็คือเรื่องของศัตรูเห็ด อันได้แก่ แมลงหวี่
ซึ่งก็จะกินเส้นใยและไข่เป็นตัวหนอน วิธีการป้องกันกำจัดก็คือใช้กาวดัก ปัญหาอีกอย่างหนึ่งก็คือ ผลผลิตที่ได้ของเห็ดแต่ละก้อนมีการกระจายตัวไม่ดีในรอบปี บางช่วงสูงบางช่วงต่ำ บางฤดูจะมีปริมาณมาก บางฤดูจะมีปริมาณน้อย ซึ่งทำให้มีปัญหาเรื่องการจัดการระบบตลาด

การนำไปประกอบอาหาร

เห็ดโคนญี่ปุ่น สามารถที่จะนำมาประกอบอาหารเหมือนกับเห็ดโดยทั่ว ไป เช่น แกงเลียงเห็ดโคน ต้มยำเห็ดโคนญี่ปุ่น ยำเห็ดโคนกุ้งสด เส้นแก้ว หรือ วุ้นเส้น ชุบแป้งทอด เห็ดโคนผัดน้ำมันหอย หรือกุ้งสด และทำซาลาเปาไส้เห็ด แต่ถ้าเราจะเก็บเอาไว้บริโภคเองนาน เราก็ต้องนำมาแปรรูป  เช่น
1. นำมาต้มซีอิ๊วหรือดองเค็ม ก็สามรรถที่จะเก็บอาไว้บริโภคได้นานแล้ว
2. นำมาทำเป็นส่วนผสมของน้ำพริกต่าง เช่นน้ำพริกเผาเห็ดโคนญี่ปุ่น และที่สำคัญเป็นอาชีพของ
สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรด้วย
3.
นำมาแปรรูปเป็นเห็ดหย็อง เก็บไว้บริโภค ได้นาน และมีรสชาติอร่อยคงเดิม

คุณค่าทางอาหาร

ดอกสด 100 กรัม
ให้ความชื้น 89.90 โปรตีน 2.73
ไขมัน 0.048 คาร์โบไฮเดรต 5.08
เยื่อใย 0.487 เถ้า 0.677
แคลเซี่ยม 6.44 เหล็ก 1.60
ฟอสฟอรัส 83.56 วิตามินบี 1 0.006
วิตามินบี 2 0.15 ไนอาซิน 3.11

สรรพคุณทางยา

-
ต้าน และ ป้องกันมะเร็ง ลดไขมัน และโคเลสเตอรอลในเลือด
-
ช่วยล้างพิษที่สะสมในตับ พิษพวกอนุมูลอิสระ อัลฟาท็อกซิล
-
ทำให้ตับแข็งแรง สามารถทำงานได้ดีขึ้น ทำให้อารมณ์ดี การสร้างเม็ดเลือดแดงดี
Article Credit : นางดวงภรณ์ โตอนันต์ | นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ

foxyform.com

เห็ดหอม

เห็ดหอม (Shiitake, Black Mushroom) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lentinus edodes (Berk.) sing. (Lentinula edodes (Berk.) Pegler มีลักษณะหมวกดอกกลม สีนํ้าตาลอ่อน ผิวหมวกด้านบนมีสีนํ้าตาลถึงนํ้าตาลปนแดงมีขนรวมกันเป็นเกล็ดสีขาวบริเวณขอบหมวก เนื้อหมวกแน่นปานกลาง ตรงกลางหมวกอาจเว้าลงเล็กน้อย หมวกมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6-10 เซนติเมตร ก้านดอกมีขนาด 1-1.5 x 5-6 เซนติเมตร
เห็ดหอมเป็นเห็ดเศรษฐกิจที่สำคัญที่ได้รับความนิยมในการบริโภคสูง รสชาติอร่อย กลิ่นหอม และมีคุณค่าทางอาหารสูง นอกจากนี้ยังโดดเด่นมากในเรื่องของผลตอบแทนที่ค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับเห็ดชนิดอื่น
ดอกเห็ดหอมสดประกอบด้วยโปรตีน 13.4% ไขมัน 4.9% คาร์โบไฮเดรต 78% เยื่อใย 7.3% อีกทั้งยังมีวิตามินและแร่ธาตุอีกหลายชนิด นอกจากนี้จากการศึกษายังพบว่าในเห็ดหอมมีสารบางอย่างที่มีสรรพคุณเป็นยา ป้องกันและรักษาโรคได้หลายชนิด เช่น ลดการสะสมไขมันในเส้นเลือด ลดความดันโลหิต และมีสารที่สามารถต่อต้านเนื้องอกได้ด้วย
การเพาะเห็ดหอมในบ้านเรายังคงมีข้อจำกัดหลายประการทั้งเรื่องสภาพพื้นที่ สภาพอากาศ สายพันธุ์ ฯลฯ เพราะโดยธรรมชาติของเห็ดหอมแล้วจะสามารถเจริญเติบโตได้ดีในแถบที่มีอุณหภูมิ อบอุ่นสลับกับหนาวเย็นทำให้เขตที่เหมาะสมสำหับการเพาะเห็ดหอมของบ้านเราจึง อยู่ทางภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของไทยเป็นส่วนใหญ่ อีกทั้งวัสดุที่เหมาะสมในการเพาะก็คือไม้ก่อซึ่งเป็นไม้ตระกูลโอ๊คที่ค่อน ข้างหายากในปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการดัดแปลงนำเชื้อเห็ดหอมมาเพาะในถุงพลาสติกเช่นเดียว กับการเพาะเห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า และเห็ดชนิดอื่น ซึ่งผลผลิตที่ได้ก็มีคุณภาพไม่แพ้กัน การเพาะเห็ดหอมในถุงพลาสติกจะมีคุณภาพดีกว่าเห็ดหอมที่เพาะในขอนไม้ กล่าวคือ เห็ดหอมที่เพาะในขอนไม้จะบานเร็ว ดอกมีสีดำและมีความชื้นสูง ในขณะที่การเพาะเห็ดหอมในถุงพลาสติกมีข้อได้เปรียบคือเห็ดจะมีลักษณะสวยกว่า เพราะความชื้นของเห็ดน้อยกว่าทำให้เห็ดถุงบานช้ากว่าจึงส่งผลให้ได้ราคาที่ดีกว่าด้วย
เห็ดหอมมีระยะบ่มก้อนเชื้อเพื่อให้เส้นใยเจริญเต็มอาหารผสมขี้เลื่อย ประมาณ105 – 120 วัน ที่อุณหภูมิ 24-26 องศาเซลเซียส หรือประมาณ 145 วัน ที่อุณหภูมิ 18-28 องศาเซลเซียส ระยะออกเวลาดอกที่สามารถเก็บผลผลิตได้ประมาณ 3-4 เดือน
โดยทั่ว ไปควรเริ่มทำถุงตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงต้นกันยายนเพื่อให้เปิดดอกได้ตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม ซึ่งก้อนเชื้อเริ่มปรากฏสีน้ำตาลที่ด้านบนของก้อนเชื้อเห็ดลงมาถึงไหล่ของ ก้อนเชื้อแล้วจึงนำไปเปิดดอก

เทคนิคการเปิดดอกและวิธีกระตุ้นการออกดอก หลังจากที่ก้อนเชื้อแก่เต็มที่คือมีสีน้ำตาลเข้มแล้วก็ให้ใช้มีดกรีดหน้าถุง บริเวณต่ำกว่าไหล่ของก้อนเชื้อเห็ดประมาณ 1 ซม. ออกและกรีดก้นถุงเห็ดไม่ให้น้ำขังที่ก้น ทำการให้น้ำทุกวัน ละ 1 ครั้ง ละ 5-10 นาทีจนก้อนเห็ดชุ่ม จะต้องรักษาความชื้นภายในโรงเรือนด้วยการฉีดน้ำเพิ่มที่พื้นและผนังโรงเรือน หลังจากนั้นจึงลดการให้น้ำลงเพื่อไม่ให้หน้าก้อนเชื้อเห็ดตายและให้เชื้อสะสมอาหารโดยให้น้ำวันละ 1-2 ครั้งเช้า-บ่ายครั้งละ 2 นาทีและให้น้ำที่พื้นและผนังบ่อย เพื่อรักษาความชื้นสัมพัทธ์ เมื่อก้อนเชื่อเห็ดแห้ง ซึ่งใช้เวลาประมาณ 7 วัน แล้วจึงให้น้ำอย่างเต็มที่อีก 2 วัน โดยให้ทุกชั่วโมง ละ 5 นาทีหรือจนเห็นว่าก้อนเชื้อชื้นลุ่มดีแล้วจึงเริ่มกระตุ้นด้วยความเย็นทันที

ปัญหาที่มักพบในการเพาะคือ  เกิดเชื้อราอื่นในก้อนขี้เลื่อยในระหว่างการเพาะ สามารถแก้ไขได้โดยนึ่งฆ่าเชื้อในถุงขี้เลื่อยที่อุณหภูมิ 90-100 องศาเซลเซียส นานไม่ตํ่ากว่า 4 ชั่วโมง ก่อนใส่เชื้อ ทำความสะอาดโรงเรือน และให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
โรงเรือนเพาะเห็ดหอมควรออกแบบให้มีปริมาณออกซิเจนและแสงสว่างอย่างเพียงพอ มีการถ่ายเทอากาศได้สะดวก ระบายความร้อนได้ดี แสงแดดไม่สามารถส่องตรงเข้าในโรงเรือนได้ นอกจากนี้จะต้องป้องกันลม ฝน และแมลงศัตรูที่อาจเป็นอันตรายต่อเห็ดด้วย ดังนั้นโรงเรือนที่สร้างควรวางหลังคาให้อยู่ในแนวตะวันออก-ตะวันตก เพื่อป้องกันไม่ให้ภายในโรงเรือนร้อนจนเกินไป หากสร้างใต้ร่มไม้ชายคาที่มีอากาศชุ่มชื้นก็จะยิ่งดี
ระบบน้ำที่ดีจะช่วยให้สามารถควบคุมทั้งอุณหภูมิ และความชื้นภายในโรงเรือนได้เป็นอย่างดี ทั้งสองปัจจัยนี้นับเป็นอิทธิพลที่มีผลต่อความอยู่รอด อัตราการเจริญเติบโต ระยะเวลาของการเกิดดอก ผลผลิตและรูปร่างของเห็ดหอม โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ระยะบ่มอุณหภูมิที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 24-28 องศาเซลเซียส และระยะเปิดดอกอุณหภูมิควรอยู่ที่ 10-25 องศาเซลเซียส

ความชื้นภายในโรงเรือนในระยะบ่มเส้นใยควรอยู่ประมาณ 55-68% ซึ่งเป็นความชื้นในบรรยากาศระดับปกติ ส่วนความชื้นที่เหมาะสมต่อการสร้างและการเจริญเติบโตของดอกเห็ดจะอยู่ ระหว่าง 80-90% และ 60-70% ตามลำดับ ทั้งนี้การสูญเสียน้ำจะถูกควบคุมด้วยระบบความชื้นสัมพัทธ์ภายในอากาศ ดังนั้นปริมาณความชื้นในก้อนเชื้อจึงมีความสำคัญต่อการเจริญของก้อนเชื้อ เห็ดเพราะเห็ดหอมประกอบด้วยน้ำถึง 85-95% การสูญเสียน้ำของเห็ดหอมจึงมีผลทำให้ปริมาณและคุณภาพของผลผลิตลดลง
นอกจากนี้เห็ดหอมยังต้องการแสงสว่างทั้งในระยะที่มีการเจริญเติบโตของเส้นใยและ ระยะออกดอกด้วย โดยในระยะที่มีการเจริญเติบโตของเส้นใยก้อนเชื้อจะต้องได้รับแสงอย่างต่อ เนื่องประมาณ 20 นาทีต่อวันจึงจะเพียงพอต่อการเจริญพัฒนาไปเป็นดอกเห็ด ก้อนเชื้อเห็ดควรวางเรี่ยงที่พื้นห่างกันก้อนละ 1 ซม. เพื่อให้ก้อนเชื้อเห็ดได้รับออกซิเจนทั่วถึงกันทุกก้อน นอกจากนี้บริเวณรอบโรงเรือนก็ต้องทำให้โล่งเตียนเพื่อป้องกันหนูและแมลงที่ เป็นอันตรายต่อก้อนเชื้อเห็ด อย่างไรก็ตามการปรับสภาพภายในโรงเรือนเพาะเห็ดนั้นขึ้นอยู่กับฤดูกาลด้วย

ข้อดีอีกอย่างที่สำคัญของเห็ดชนิดนี้ก็คือเป็นเห็ดที่มีความทนทานต่อสภาพแวด ล้อมได้ดีพอสมควรจึงไม่ค่อยมีปัญหาในการบรรจุหีบห่อ การเก็บรักษาและการขนส่ง เนื่องจากครีบดอกไม่เปลี่ยนสีมากนัก เนื้อดอกเห็ดมีความทนทานไม่แตกเป็นขุย
Article Credit : กรมวิชาการเกษตร l มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ l วารสารเคหการเกษตร


เห็ดหูหนู

เห็ดหูหนู (Tree Ear) หรือ เห็ดหูชัวะ, เห็ดหูหนูจีน   ชื่อวิทยาศาสตร์: Auricularia auricula Judae.  วงศ์: Auriculariaceae เป็นเห็ดชนิดหนึ่งในหลายชนิด ที่นิยมบริโภค และยังถือว่าเป็นยารักษาโรคอีกด้วย ดอกเห็ดมีลักษณะเป็นแผ่นวุ้น คล้ายหูของหนู ไม่มีกลีบดอก มีก้านสั้นมากหรือไม่มี เกิดขึ้นได้ดีในสภาพธรรมชาติที่มีอากาศร้อนชื้น เห็ดหูหนูสามารถเกิดขึ้นเองได้ตามขอนไม้ทั่วไปในช่วงฤดูฝนโดยเจริญออกมาจากขอนไม้หรือเปลือกไม้ที่ตายแล้ว สีน้ำตาลแดง รูปพัดไม่มีด้าม กว้าง 2-6 เซนติเมตร หนา 1-2 มิลลิเมตร ผิวด้านบนเรียบและหยักเป็นคลื่นเล็กน้อย ผิวด้านล่างสีอ่อนกว่า มีขนสั้นละเอียด และมีรอยจีบย่นหยักเป็นแผ่นรัศมีออกไปจากโคนที่ยึดติดกับขอนไม้เมื่อตัด เนื้อเห็ดตามขวางจะปรากฏมี 6 แถบ สปอร์ รูปไส้กรอก ใส ไม่มีสี ขนาด 5-6 x 13-15 ไมโครเมตร ผิวเรียบ ก้านสปอร์รูปทรงกระบอก

เริ่มแรกการเพาะเห็ดหูหนู กระทำโดยเอาไม้ที่เห็ดหูหนูชอบขึ้น เช่น ไม้แค ไม้ขนุน ไม้ฝรั่ง ไม้มะม่วง ตัดเป็นท่อน มากองสุมรวมกัน จนไม้ผุ แล้วหาท่อนไม้ที่มีเห็ดหูหนูเกิดขึ้นตามธรรมชาติ มากองสุมรวม เมื่อเข้าฤดูฝนเห็ดหูหนูก็จะเกิดขึ้นมา สามารถเก็บผลผลิตได้ ต่อมาในปัจจุบันมีการพัฒนาทางวิชาการสามารถแยกเชื้อเห็ดหูหนูได้ และมีการขยายเชื้อให้เหมาะสม สามารถเจาะใส่ลงไปในเนื้อไม้ ทำให้ได้ผลผลิตที่แน่นอนตรงตามความต้องการของผู้ผลิต ไม้ที่ใช้เพาะเห็ดหูหนูควรเป็นไม้เนื้ออ่อน เพราะจะให้ผลผลิตมากและเร็ว แต่ไม้เนื้อแข็งสามารถเก็บผลผลิตได้นานกว่า ส่วนไม้ที่นิยมใช้กันมากคือ ไม้แค ไม้ทองหลาง ไม้มะม่วง ไม้นนทรีย์ ไม้ขนุน ไม้ทองกวาว ไม้ยางพารา ไม้ก้ามปู ฯลฯ  นอกจากนี้ในปัจจุบันยังนิยมเพาะเห็ดหูหนูในถุงพลาสติกด้วยอาหารขี้เลื่อยอีกด้วย

การเพาะเห็ดหูหนูในถุงพลาสติก นิยมใช้แบบแขวน โดยเปิดฝาครอบออก ถอดจุกสำลี คอพลาสติกออกแล้วรวบปากถุงรัดยางให้แน่น ใช้มีดกรีดข้างถุงในลักษณะเฉียงลง ยาวประมาณ 6 - 8 เซนติเมตร โดยรอบประมาณ 10 - 20 แนว วางก้อนเชื้อเห็ดหูหนูบนแป้นพลาสติกซึ่งร้อยด้วยเชือกพลาสติกเรียงซ้อนเป็นชั้น หรือผูกเชือกกับปากถุงร้อยเรียงกันได้ประมาณ 10 ก้อน แล้วนำแขวนกับราว

โรงเรือนเปิดดอกถุงเห็ดหูหนูควรเป็นหลังคาจากหรือแฝก ขนาดเหมาะสมกับจำนวนก้อนเชื้อ เพื่อรักษาความชื้น การถ่ายเทอากาศให้พอดี ระบายน้ำได้ดี ภายในโรงเรือนเปิดดอกต้องสะอาด พื้นควรปูด้วยทราย หรือหิน เกล็ดเล็ก ด้านข้างทำด้วยพลาสติกสานปล่อยลอยชาย จะทำให้สะดวกต่อการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น การระบายอากาศ
นอกจากนี้ควรมีแสงสว่างเพียงพอที่จะทำให้เกิดดอกได้ดี

การรดน้ำ ควรให้น้ำแบบเป็นฝอย จำนวนครั้งในการให้น้ำขึ้นกับความชื้นในบรรยากาศ ถ้าอากาศแห้ง ร้อน ต้องเพิ่มจำนวนครั้งมากขึ้น ไม่ควรให้น้ำขังในก้อนเนื้อ โดยเห็ดหูหนูต้องการความชื้นในโรงเรือนค่อนข้างสูง ประมาณ 80 - 95 เปอร์เซ็นต์

ปัญหาการเพาะเห็ดหูหนูที่พบบ่อยคือไร่ไข่ปลา  และราเขียวและราอื่นกินเส้นใยเห็ดในถุงซึ่งทำความเสียหายอย่างมาก ทำให้ผลผลิตน้อยกว่าที่ควรจะเป็นเหมือนกับที่พบในเห็ดขอนขาว การแก้ปัญหาต้องรักษาความสะอาดทุกขั้นตอน ผู้ผลิตเชื้อบนเมล็ดข้าวฟ่างต้องมีแว่นขยายคอยตรวจตัวไรระยะต่าง ที่อาจปะปนอยู่บนใยเห็ดที่เลี้ยงบนวุ้น และผู้ผลิตเชื้อถุงขี้เลื่อยก็ต้องตรวจเชื้อในข้าวฟ่างอย่างละเอียด เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีไรและราเขียวติดอยู่ จะได้ไม่แพร่เชื้อออกไป
เห็ดหูหนูนอกจากจะรับประทานอร่อยแล้วก็ยังมีประโยชน์มากมาย มีสารอาหารหลายตัวทั้งธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส แคลเซียม วิตามินซี และโปรตีน  อีกทั้งเห็ดหูหนูยังมีสรรพคุณช่วยลดความข้นของเลือด เพราะมีสารอะดีโนซีนซึ่งเป็นสารตัวเดียวกับที่มีในกระเทียมและหอมหัวใหญ่ ช่วยลดความเหนียวข้นของเลือดจึงช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตันทำให้เลือดไม่เป็นลิ่มเลือดไปอุดตันเส้นเลือดหัวใจ เส้นเลือดสมอง หรือเส้นเลือดที่อวัยวะอื่นๆ

นอกจากนี้เห็ดหูหนู ยังมีสรรพคุณช่วยบำรุงกระเพาะ สมอง หัวใจ ปอด ตับ แพทย์แผนจีนใช้เป็นอาหารบำรุงไตให้แข็งแรง ลดไข้ แก้ไอ กระตุ้นการทำงานของลำไส้ ช่วยบำรุงร่างกาย ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ กระจายโลหิต แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ต้มกับน้ำตาลกรวดจิบแก้ไอ
Article Credit : กรมวิชาการเกษตร l มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน