เห็ดหัวลิง


มีชื่อสามัญ ว่า Monkey’s head หรือ Lion’s Mane ทางญี่ปุ่นเรียก Yamabushitake

ส่วนชื่อที่เป็นทางการในประเทศไทย ตั้งโดยสมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทย
ชื่อเห็ดภู่มาลา 60”

มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ ว่า Hericium erinaceus(Bull Ex Fr) หรือ Hericium erinaceum

ในประเทศจีนเรียกว่า เห็ดเหอโถวกู ประวัติของเห็ดหัวลิง ตามเอกสารวิชาการระบุว่า มีแหล่งกำเนิดอยู่ในเมือง เหอหลงเจียง ประเทศจีน ส่วนในประเทศไทยมีชาวจีนชื่อ นายฮั่งจง แซ่หลู นำเข้ามาเพาะครั้งแรกที่ดอยแม่สลอง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ในระยะแรกนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านสมุนไพรรักษาโรคกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก รูปร่างของเห็ดหัวลิงมีลักษณะทรงกลม เป็นเส้นฟูคล้ายภู่มาลาของทหาร สีขาวสะอาด และมีกลิ่นหอมคล้ายเห็ดนางรม ขนาดเฉลี่ย 8-10 ดอก ต่อกิโลกรัม 

ค่าวิเคราะห์สารอาหารในเห็ดแห้ง 100 กรัม ประกอบด้วย 

โปรตีน 26.3 กรัม (ซึ่งมีมากกว่าในเห็ดหอม 1 เท่า)
ไขมัน 4.2 กรัม 
คาร์โบไฮเดรต 44.9 กรัม 
ใยเซลลูโลส 4.2 กรัม 
ธาตุฟอสฟอรัส 856 มิลลิกรัม 
ธาตุเหล็ก 18 มิลลิกรัม 
แคลเซียม 2 มิลลิกรัม 
วิตามิน บี 1 0.69 มิลลิกรัม 
วิตามิน บี 2 1.89 มิลลิกรัม 
และพลังงาน 323 กิโลแคลอรี 

มีกรดอะมิโนอยู่ 16 ชนิด ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่จำเป็นสำหรับร่างกายอยู่ถึง 7 ชนิด

แพทย์จีนแผนโบราณเห็นว่า เห็ดหัวลิงมีรสชาติหวาน มีฤทธิ์อ่อนใช้บำรุงม้ามและกระเพาะ เพิ่มกำลังวังชา และต่อต้านมะเร็ง ช่วยในการรักษามะเร็งในระบบทางเดินอาหาร
โดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็งที่ร่างกายอ่อนแอมาก นอกจากนี้ยังช่วยลดอาการข้างเคียงจากการให้เคมีบำบัด และรังสีบำบัดได้ด้วย

ดังนั้น เห็ดหัวลิงจึงได้รับสมญาว่าเป็น 1 ใน 4 ของอาหารชั้นเลิศในประเทศจีน

โดยสูตรอาหารที่ใช้เพาะเห็ดมีหลายสูตรแต่ที่เกษตรกรที่อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ใช้คือ

มีชื่อสามัญ ว่า Monkey’s head หรือ Lion’s Mane ทางญี่ปุ่นเรียก Yamabushitake

ส่วนชื่อที่เป็นทางการในประเทศไทย ตั้งโดยสมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทย
ชื่อเห็ดภู่มาลา 60”

มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ ว่า Hericium erinaceus(Bull Ex Fr) หรือ Hericium erinaceum

ในประเทศจีนเรียกว่า เห็ดเหอโถวกู ประวัติของเห็ดหัวลิง ตามเอกสารวิชาการระบุว่า มีแหล่งกำเนิดอยู่ในเมือง เหอหลงเจียง ประเทศจีน ส่วนในประเทศไทยมีชาวจีนชื่อ นายฮั่งจง แซ่หลู นำเข้ามาเพาะครั้งแรกที่ดอยแม่สลอง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ในระยะแรกนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านสมุนไพรรักษาโรคกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก รูปร่างของเห็ดหัวลิงมีลักษณะทรงกลม เป็นเส้นฟูคล้ายภู่มาลาของทหาร สีขาวสะอาด และมีกลิ่นหอมคล้ายเห็ดนางรม ขนาดเฉลี่ย 8-10 ดอก ต่อกิโลกรัม

ค่าวิเคราะห์สารอาหารในเห็ดแห้ง 100 กรัม ประกอบด้วย

โปรตีน 26.3 กรัม (ซึ่งมีมากกว่าในเห็ดหอม 1 เท่า)
ไขมัน 4.2 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 44.9 กรัม
ใยเซลลูโลส 4.2 กรัม
ธาตุฟอสฟอรัส 856 มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก 18 มิลลิกรัม
แคลเซียม 2 มิลลิกรัม
วิตามิน บี 1 0.69 มิลลิกรัม
วิตามิน บี 2 1.89 มิลลิกรัม
และพลังงาน 323 กิโลแคลอรี

มีกรดอะมิโนอยู่ 16 ชนิด ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่จำเป็นสำหรับร่างกายอยู่ถึง 7 ชนิด

แพทย์จีนแผนโบราณเห็นว่า เห็ดหัวลิงมีรสชาติหวาน มีฤทธิ์อ่อนใช้บำรุงม้ามและกระเพาะ เพิ่มกำลังวังชา และต่อต้านมะเร็ง ช่วยในการรักษามะเร็งในระบบทางเดินอาหาร
โดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็งที่ร่างกายอ่อนแอมาก นอกจากนี้ยังช่วยลดอาการข้างเคียงจากการให้เคมีบำบัด และรังสีบำบัดได้ด้วย

ดังนั้น เห็ดหัวลิงจึงได้รับสมญาว่าเป็น 1 ใน 4 ของอาหารชั้นเลิศในประเทศจีน

โดยสูตรอาหารที่ใช้เพาะเห็ดมีหลายสูตรแต่ที่เกษตรกรที่อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ใช้คือ
ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100 กิโลกรัม
รำละเอียด 10 กิโลกรัม
ยิปซั่ม 1 กิโลกรัม
โดโลไมต์ หรือภูไมท์ 1 กิโลกรัม
แป้งข้าวเหนียว 1 กิโลกรัม
ปุ๋ยเคมีสูตรตัวกลาง (0-3-0) 1 กิโลกรัม
ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม
ไทอามีน 10 กรัม

สำหรับวิธีการการเพาะเห็ดชนิดนี้มีวิธีการเดียวกับการเพาะเห็ดชนิดอื่น สำคัญอยู่ที่อากาศเย็นกว่า โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการเจริญของเส้นใยในก้อนเชื้อ จะอยู่ที่ประมาณ 23-32 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการออกดอกอยู่ที่ประมาณ 15-28 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 80-95

Credit : http://siweb.dss.go.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น