เห็ดนางรมฮังการี
"เห็ดนางรม" (Oyster Mushroom ) เป็นเห็ดที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางถิ่นประเทศแถบยุโรป เห็ดพวกนี้เจริญเติบโต ได้ดีในพวกไม้โอ๊ค (oak) ไม้เมเปิ้ล (maple) ไม้พืช (peach) ฯลฯ และสามารถเจริญเติบโตได้ทั่วไปในเขตอบอุ่น ต่อมาได้มีการนำเข้ามาทดลองเพาะเลี้ยงในประเทศไทย พบว่า เห็ดชนิดนี้สามารถปรับตัวและเจริญเติบโตได้ดีในประเทศไทย จึงได้มีการเผยแพร่วิธีการเพาะเห็ดชนิดนี้จนเป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป เห็ดนางรมจัดเป็นเห็ดที่ประชาชนนิยมรับประทานกันมาก ทั้งนี้เนื่องจากเห็ดนางรมมีลักษณะคล้ายเห็ดมะม่วง หรือเห็ดขอนขาวที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติบนตอไม้ที่ผุพัง ประกอบกับเห็ดนางรมเป็นเห็ดที่มีสีขาวสะอาดมีคุณค่าทางอาหารสูงและมีรสชาติหอมหวาน นอกจากนี้เนื้อของเห็ดนางรมยังไม่เหนียวมากเหมือนเห็ดมะม่วงหรือเห็ดขอนขาว ที่สำคัญคือ "เห็ดนางรม" มีสารบางอย่างที่มีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคไม่แพ้เห็ดชนิดอื่นๆ จึงทำให้ประชาชนรู้จักเห็ดชนิดนี้เป็นอย่างดี เห็ดนางรม หรือOyster mushroom จัดได้ว่าเป็นเห็ดชนิดหนึ่งที่มีคุณค่าทางอาหารสูงโดยเฉพาะ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน ไม่แพ้เห็ดชนิดอื่นๆ นอกจากนี้เห็ดนางรมยังให้ปริมาณแร่ธาตุหลายชนิด เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส โปแตสเซี่ยม และยังให้พลังงานค่อนข้างสูง เห็ดนางรม มีวิตามินบี 1 วิตามินบี 2 สูงกว่าเห็ดชนิดอื่นๆ และยังมีกรดโฟลิคสูงกว่าพืชผักและเนื้อสัตว์กรด พวกนี้ช่วยป้องกันรักษาโรคโลหิตจางได้ จึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และยังเหมาะต่อผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักเพราะเห็ดมีปริมาณของไขมันน้อยและมีปริมาณโซเดียมต่ำ จึงเหมาะที่จะใช้เป็นอาหารสำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจและโรคไตอักเสบ ประกอบกับเห็ดนางรมที่เพาะง่าย สามารถเจริญเติบโตได้ในทุกภูมิภาคของประเทศไทย จึงได้มีการเพาะเห็ดนี้กันอย่างแพร่หลาย
คุณค่าอาหาร
เห็ดนางรม 100 กรัม ให้พลังงาน 30 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย
โปรตีน 2.1 กรัม
ไขมัน 0.3 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 4.8 กรัม
แคลเซียม 4 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 61 มิลลิกรัม
เหล็ก 0.3 มิลลิกรัม
ไนอะซิน 2.7 มิลลิกรัม
วิตามินซี 21 มิลลิกรัม
วิธีการเพาะ
เห็ดนางรม 100 กรัม ให้พลังงาน 30 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย
โปรตีน 2.1 กรัม
ไขมัน 0.3 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 4.8 กรัม
แคลเซียม 4 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 61 มิลลิกรัม
เหล็ก 0.3 มิลลิกรัม
ไนอะซิน 2.7 มิลลิกรัม
วิตามินซี 21 มิลลิกรัม
วิธีการเพาะ
1. ผสมวัสดุเพาะทั้งหมดเข้าด้วยกัน และทดสอบความชื้นให้พอเหมาะโดยจะมีความชื้นประมาณ 75 - 80%
2. บรรจุวัสดุเพาะลงในถุง ถ้าเป็นวัสดุเพาะเป็นขี้เลื่อยใช้ถุงขนาด 6.5x12.5 นิ้ว หนัก 800 - 1,000 กรัม ถ้าวัสดุเพาะเป็นฟางหมักควรใช้ถุงขนาด 7x13 นิ้ว แล้วอัดวัสดุให้แน่น แต่ละถุงจะมีน้ำหนักประมาณ ถ้าเป็นฟางหมัก 6-8 ขีด ถ้าเป็นขี้เลื่อยประมาณ 600 - 800 กรัม เสร็จแล้วใส่คอขวดรัดด้วยยางรัดปิดด้วยจุกสำลี
3. นำถุงก้อนเห็ดที่บรรจุแล้วไปนึ่งฆ่าเชื้อ โดยใช้หม้อนึ่ง 2 แบบ คือ
3.1 หม้อนึ่งฆ่าเชื้อแบบลูกทุ่ง หรือหม้อนึ่งไม่อัดความดัน โดยใช้ถัง 200 ลิตร บรรจุครั้งละ 100 ถุง นึ่งนาน 1.5-2 ชั่วโมง หรือหม้อนึ่งที่ประกอบด้วยเหล็กแผ่นเป็นรูปสี่เหลี่ยมบรรจุถุงได้ตั้งแต่ 500-5,000 ถุง โดยใช้ระยะเวลาในการนึ่งประมาณ 4-10 ชั่วโมง
3.2 การนึ่งแบบมีความดัน จะเป็นถังที่สามารถทนความร้อนสูงได้ 121 องศาเซลเซียส และมีความดันประมาณ 15 - 18 ปอนด์/ตารางนิ้ว ใช้เวลาในการนึ่งประมาณ 2 - 3 ชั่วโมง
2. บรรจุวัสดุเพาะลงในถุง ถ้าเป็นวัสดุเพาะเป็นขี้เลื่อยใช้ถุงขนาด 6.5x12.5 นิ้ว หนัก 800 - 1,000 กรัม ถ้าวัสดุเพาะเป็นฟางหมักควรใช้ถุงขนาด 7x13 นิ้ว แล้วอัดวัสดุให้แน่น แต่ละถุงจะมีน้ำหนักประมาณ ถ้าเป็นฟางหมัก 6-8 ขีด ถ้าเป็นขี้เลื่อยประมาณ 600 - 800 กรัม เสร็จแล้วใส่คอขวดรัดด้วยยางรัดปิดด้วยจุกสำลี
3. นำถุงก้อนเห็ดที่บรรจุแล้วไปนึ่งฆ่าเชื้อ โดยใช้หม้อนึ่ง 2 แบบ คือ
3.1 หม้อนึ่งฆ่าเชื้อแบบลูกทุ่ง หรือหม้อนึ่งไม่อัดความดัน โดยใช้ถัง 200 ลิตร บรรจุครั้งละ 100 ถุง นึ่งนาน 1.5-2 ชั่วโมง หรือหม้อนึ่งที่ประกอบด้วยเหล็กแผ่นเป็นรูปสี่เหลี่ยมบรรจุถุงได้ตั้งแต่ 500-5,000 ถุง โดยใช้ระยะเวลาในการนึ่งประมาณ 4-10 ชั่วโมง
3.2 การนึ่งแบบมีความดัน จะเป็นถังที่สามารถทนความร้อนสูงได้ 121 องศาเซลเซียส และมีความดันประมาณ 15 - 18 ปอนด์/ตารางนิ้ว ใช้เวลาในการนึ่งประมาณ 2 - 3 ชั่วโมง
การปลูกเชื้อเห็ดลงถุง เปิดจุกสำลีออกแล้วใช้เชื้อเห็ดในเมล็ดธัญพืชหยอดลงไปประมาณ 20 เมล็ด แล้วปิดด้วยกระดาษนำไปบ่มให้เส้นใยเห็ดเดินต่อไป ระยะเวลาการบ่มเส้นใย เห็ดนางรมและนางฟ้าภูฐาน จะใช้เวลาประมาณ 25-30 วัน ส่วนเห็ดนางฟ้าและเห็ดเป๋าฮื้อ จะใช้เวลา ประมาณ 45 - 50 วัน
การเปิดดอก เมื่อเส้นใยเห็ดเดินเต็มถุงหรือใช้เวลาในการบ่มได้ที่แล้ว นำถุงก้อนเชื้อเห็ดเข้าในโรงเรือนเปิดดอกและดึงกระดาษที่ปิดหน้าถุงออก เพิ่มความชื้นภายในโรงเรือนให้ได้ ประมาณ 80 - 85% โดยการฉีดพ่นน้ำ เป็นละอองฝอย วันละ 2 - 3 ครั้ง จากนั้นประมาณ 7 - 10 วัน ดอกเห็ดก็จะเริ่มออกและเก็บได้ ก่อนเก็บผลผลิต ควรงดการให้น้ำเพราะเห็ดจะเปียกชื้นไม่เป็นที่ต้องการของตลาด
การเก็บเกี่ยว
ทำการดึงดอกเห็ดที่ออกจากหน้าถุงเมื่อโตเต็มที่อยู่ในระยะที่ยังไม่บาน สังเกตจากขอบดอกเห็ดยังงุ้มอยู่ โดยดึงดอกเห็ดให้หลุดออกจากถุงทั้งกลุ่มไม่ให้เหลือโคนติดที่ถุง เพราะจะทำให้หน้าถุงเน่าทำให้มีเชื้อราอื่นหรือมีแมลงหวี่เข้าทำลาย
ทำการดึงดอกเห็ดที่ออกจากหน้าถุงเมื่อโตเต็มที่อยู่ในระยะที่ยังไม่บาน สังเกตจากขอบดอกเห็ดยังงุ้มอยู่ โดยดึงดอกเห็ดให้หลุดออกจากถุงทั้งกลุ่มไม่ให้เหลือโคนติดที่ถุง เพราะจะทำให้หน้าถุงเน่าทำให้มีเชื้อราอื่นหรือมีแมลงหวี่เข้าทำลาย
Credit : สถานีเห็ด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น