เห็ดแครง
เห็ดแครง เป็นเห็ดที่มีขนาดเล็กรูปร่างลักษณะคล้ายพัด (fan-shaped) ที่ฐานมีก้านสั้นๆยาวประมาณ 0.1-0.5 ซม. ดอกเห็ดกว้างประมาณ 1-3 ซม. ผิวด้านบนมีสีขาวปนเทาปกคลุมทั่วไป ลักษณะดอกเหนียวและแข็งแรง ด้านใต้ของดอกมีครีบเป็นร่องสีน้ำตาลอ่อน ขอบดอกหยักคล้ายขอบเปลือกหอยแครง ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ เมื่อแห้งด้านใต้ของดอกเห็ดมีครีบมีลักษณะแตกเป็นร่อง (spilt-gill) พิมพ์สปอร์มีสีขาว สปอร์มีสีใสรูปร่างเป็นทรงกระบอกขนาด 3-4x1-1.5 ไมครอน เนื่องจากเห็ดแครงมีขึ้นอยู่ทั่วโลก ในสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน ลักษณะดอกเห็ดอาจแตกต่างกันในแต่ละท้องที่
เห็ดแครง หรือเห็ดตีนตุ๊กแก ชื่อวิทยาศาสตร์ : Schizophylum commune Fr เป็นเห็ดที่ขึ้นอยู่ทั่วโลกและงอกได้ตลอดปี พบขึ้นอยู่กับวัสดุหลายชนิด เช่น ท่อนไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ใบหญ้า กระดาษ หรือแม้แต่บนกระดูกปลาวาฬก็พบเห็ดชนิดนี้ขึ้นอยู่ ในประเทศไทยมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น โดยภาคเหนือเรียก เห็ดแก้น เห็ดตามอด ภาคใต้เรียก เห็ดยาง เพราะพบบนไม้ยางพาราและนังพบตามกิ่งไม้จำพวกสะตอ ภาคกลางเรียก เห็ดมะม่วง เนื่องจากขึ้นบนไม้มะม่วง และตามต้นกระถินณรงค์ นอกจากนี้ยังพบขึ้นบนไม้อื่นๆ เช่น ไม้ยูคาลิปตัส ไม้สน ฯลฯ ทั้งนี้จะเห็นเห็ดขึ้นมากมายในฤดูฝนเป็นที่นิยมรับประทานกันในเขตภาคใต้ ภาคเหนือและภาคอีสานตอนบน
เห็ดแครง หรือเห็ดตีนตุ๊กแก ชื่อวิทยาศาสตร์ : Schizophylum commune Fr เป็นเห็ดที่ขึ้นอยู่ทั่วโลกและงอกได้ตลอดปี พบขึ้นอยู่กับวัสดุหลายชนิด เช่น ท่อนไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ใบหญ้า กระดาษ หรือแม้แต่บนกระดูกปลาวาฬก็พบเห็ดชนิดนี้ขึ้นอยู่ ในประเทศไทยมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น โดยภาคเหนือเรียก เห็ดแก้น เห็ดตามอด ภาคใต้เรียก เห็ดยาง เพราะพบบนไม้ยางพาราและนังพบตามกิ่งไม้จำพวกสะตอ ภาคกลางเรียก เห็ดมะม่วง เนื่องจากขึ้นบนไม้มะม่วง และตามต้นกระถินณรงค์ นอกจากนี้ยังพบขึ้นบนไม้อื่นๆ เช่น ไม้ยูคาลิปตัส ไม้สน ฯลฯ ทั้งนี้จะเห็นเห็ดขึ้นมากมายในฤดูฝนเป็นที่นิยมรับประทานกันในเขตภาคใต้ ภาคเหนือและภาคอีสานตอนบน
เห็ดแครงมีราคาจำหน่ายค่อนข้างสูง มีจำหน่ายทั้งในรูปดอกสดและดอกเห็ดแห้ง(ตากแห้งเก็บไว้กินนอกฤดู)
เห็ดแครงเป็นเห็ดที่เพาะปลูกได้ง่ายมากชนิดหนึ่ง สามารถใช้วัสดุในการเพาะหลายชนิด ขั้นตอนในการเพาะเลี้ยงเห็ดแครงจะเหมือนกับเห็ดชนิดอื่นๆ ยกเว้นสูตรอาหารและเทคนิคการเพาะ การดูแลเฉพาะตัว ซึ่งต่างไปบ้าง เนื่องจากเห็ดแครงต้องการอาหารเสริมเป็นโปรตีนและคาร์โบไฮเดรทสูง เนื่องจากใช้ธาตุอาหารมากในการเจริญของเส้นใยที่รวดเร็ว และเนื่องจากวัสดุเพาะเห็ดแครงที่มีธาตุอาหารสูงนี่เอง อาจทำให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อราชนิดอื่นอาทิ ราเขียว และราส้มได้ง่าย จนเป็นสาเหตุให้ผลผลิตเสียหายได้
สภาพโรงเรือนเปิดดอกของเห็ดแครงจะใกล้เคียงกับโรงเรือนเห็ดหูหนู เพราะชอบความชื้นในบรรยากาศสูง การระบายอากาศต้องดี การรดน้ำควรจะติดระบบสปริงเกอร์ ให้น้ำเช้าและเย็น หากรดน้ำด้วยมือจะต้องใช้หัวฉีดพ่นฝอย มิฉะนั้นก้อนเห็ดจะดูดน้ำเข้าไปทำให้ก้อนเชื้อเสีย และปนเปื้อนจุลินทรีย์อื่น การวางก้อนเชื้อจะต้องวางบนชั้นหรือแขวนแบบเห็ดหูหนู หลังจากกรีดข้างถุงและรดน้ำเห็ดไปประมาณ 5 วัน จะเก็บผลผลิตรุ่นที่ 1 ได้ หลังจากนั้นเห็ดจะพักตัวอีก 5 – 7 วัน รดน้ำเป็นปกติจะเก็บรุ่นที่ 2 ตามลำดับ ซึ่งผลผลิตจะหมดให้ขนก้อนเก่าไปทิ้งและพักโรงเรือนให้แห้งเป็นเวลา 15 วัน จึงนำถุงเห็ดรุ่นใหม่เข้าเปิดดอกต่อไป
การเก็บผลผลิตควรเก็บเห็ดแครงในระยะที่ดอกมีสีขาวนวล ก่อนที่จะสร้างสปอร์ เพราะเห็ดแครงอ่อนมีเนื้อนุ่ม รสหวานหอม หากทิ้งไว้ให้แก่จะมีสีน้ำตาลคล้ำไม่น่ารับประทาน เนื้อดอกจะเหนียว นอกจากนี้หากปล่อยไว้จนเห็ดสร้างและปล่อยสปอร์ออกมา บางท่านอาจแพ้สปอร์ดังกล่าวได้
ทั้งนี้ก้อนเชื้อที่เก็บผลผลิตหมดแล้วควรเก็บทิ้งให้เป็นที่ และหมักให้ย่อยสลายดีก่อนนำไปเป็นปุ๋ย เพราะเห็ดแครงสามารถย่อยสลายเนื้อไม้ได้ดี ถึงแม้จะเป็นไม้ที่ตายแล้วก็ตาม (Wood decay) ซึ่งอาจจะไปทำอันตรายต่อผลิตผลการเกษตรบางชนิดได้
คุณค่าทางโภชนาการ :
เห็ดแครง 100 กรัม ให้ โปรตีน 17.0 กรัม ไขมัน 0.5 กรัม แคลเซียม 90 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 280 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 640 มิลลิกรัม
เห็ดแครงเป็นเห็ดที่เพาะปลูกได้ง่ายมากชนิดหนึ่ง สามารถใช้วัสดุในการเพาะหลายชนิด ขั้นตอนในการเพาะเลี้ยงเห็ดแครงจะเหมือนกับเห็ดชนิดอื่นๆ ยกเว้นสูตรอาหารและเทคนิคการเพาะ การดูแลเฉพาะตัว ซึ่งต่างไปบ้าง เนื่องจากเห็ดแครงต้องการอาหารเสริมเป็นโปรตีนและคาร์โบไฮเดรทสูง เนื่องจากใช้ธาตุอาหารมากในการเจริญของเส้นใยที่รวดเร็ว และเนื่องจากวัสดุเพาะเห็ดแครงที่มีธาตุอาหารสูงนี่เอง อาจทำให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อราชนิดอื่นอาทิ ราเขียว และราส้มได้ง่าย จนเป็นสาเหตุให้ผลผลิตเสียหายได้
สภาพโรงเรือนเปิดดอกของเห็ดแครงจะใกล้เคียงกับโรงเรือนเห็ดหูหนู เพราะชอบความชื้นในบรรยากาศสูง การระบายอากาศต้องดี การรดน้ำควรจะติดระบบสปริงเกอร์ ให้น้ำเช้าและเย็น หากรดน้ำด้วยมือจะต้องใช้หัวฉีดพ่นฝอย มิฉะนั้นก้อนเห็ดจะดูดน้ำเข้าไปทำให้ก้อนเชื้อเสีย และปนเปื้อนจุลินทรีย์อื่น การวางก้อนเชื้อจะต้องวางบนชั้นหรือแขวนแบบเห็ดหูหนู หลังจากกรีดข้างถุงและรดน้ำเห็ดไปประมาณ 5 วัน จะเก็บผลผลิตรุ่นที่ 1 ได้ หลังจากนั้นเห็ดจะพักตัวอีก 5 – 7 วัน รดน้ำเป็นปกติจะเก็บรุ่นที่ 2 ตามลำดับ ซึ่งผลผลิตจะหมดให้ขนก้อนเก่าไปทิ้งและพักโรงเรือนให้แห้งเป็นเวลา 15 วัน จึงนำถุงเห็ดรุ่นใหม่เข้าเปิดดอกต่อไป
การเก็บผลผลิตควรเก็บเห็ดแครงในระยะที่ดอกมีสีขาวนวล ก่อนที่จะสร้างสปอร์ เพราะเห็ดแครงอ่อนมีเนื้อนุ่ม รสหวานหอม หากทิ้งไว้ให้แก่จะมีสีน้ำตาลคล้ำไม่น่ารับประทาน เนื้อดอกจะเหนียว นอกจากนี้หากปล่อยไว้จนเห็ดสร้างและปล่อยสปอร์ออกมา บางท่านอาจแพ้สปอร์ดังกล่าวได้
ทั้งนี้ก้อนเชื้อที่เก็บผลผลิตหมดแล้วควรเก็บทิ้งให้เป็นที่ และหมักให้ย่อยสลายดีก่อนนำไปเป็นปุ๋ย เพราะเห็ดแครงสามารถย่อยสลายเนื้อไม้ได้ดี ถึงแม้จะเป็นไม้ที่ตายแล้วก็ตาม (Wood decay) ซึ่งอาจจะไปทำอันตรายต่อผลิตผลการเกษตรบางชนิดได้
คุณค่าทางโภชนาการ :
เห็ดแครง 100 กรัม ให้ โปรตีน 17.0 กรัม ไขมัน 0.5 กรัม แคลเซียม 90 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 280 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 640 มิลลิกรัม
เห็ดแครงเป็นเห็ดที่มีแร่ธาตุอาหารต่างๆค่อนข้างมาก นอกจากใช้บริโภคเป็นอาหารบำรุงร่างกายทำให้สุขภาพดีได้หลากหลายเมนู เช่น นำมาเจียวกับไข่ แกงกะทิ ห่อหมก งบเห็ดแครงแล้ว ยังมี สรรพคุณทางยาในด้านการรักษาโรคต่างๆมากมาย เช่น ช่วยขับปัสสาวะ ต่อต้านการเจริญเติบโตของเซลมะเร็ง ในประเทศญี่ปุ่นยังใช้เป็นยาเนื่องจากพบสารประกอบพวก Polysaccharide ชื่อว่า Schizophyllan (1.3 β - glucan) ซึ่งมีคุณสมบัติการต่อต้านเชื้อไวรัส และยับยั้งเซลล์มะเร็งชนิด Sarcoma 180 และ Sarcoma 87 โดยทดลองใน White mice ยับยั้งได้ 70 - 100 %
ส่วนในประเทศจีนมีการแนะนำให้คนไข้ที่เป็นโรคระดูขาว รับประทานเห็ดแครงที่ปรุงกับไข่เพื่อรักษาโรค และรับประทานร่วมกับใบชาโดยต้มเห็ดแครง 9 – 16 กรัม กับน้ำกินวันละประมาณ 3 ครั้ง ใช้เป็นอาหารบำรุงร่างกาย ในประเทศญี่ปุ่นใช้เป็นยาเนื่องจาก พบสารประกอบพวก polysaccharide ชื่อว่า Schizophyllan (1,3 B-glucan) ซึ่งมีคุณสมบัติในการต่อต้านเชื้อไวรัสและยับยั้งเซลมะเร็งชนิด Sarcoma 180 และ Sarcoma 37 โดยทดลองใน หนูขาวยับยั้งได้ร้อยละ 70 – 100 จึงคาดว่าน่าจะเป็นเห็ดที่มีศักยภาพดีในอนาคตต่อไป
ส่วนในประเทศจีนมีการแนะนำให้คนไข้ที่เป็นโรคระดูขาว รับประทานเห็ดแครงที่ปรุงกับไข่เพื่อรักษาโรค และรับประทานร่วมกับใบชาโดยต้มเห็ดแครง 9 – 16 กรัม กับน้ำกินวันละประมาณ 3 ครั้ง ใช้เป็นอาหารบำรุงร่างกาย ในประเทศญี่ปุ่นใช้เป็นยาเนื่องจาก พบสารประกอบพวก polysaccharide ชื่อว่า Schizophyllan (1,3 B-glucan) ซึ่งมีคุณสมบัติในการต่อต้านเชื้อไวรัสและยับยั้งเซลมะเร็งชนิด Sarcoma 180 และ Sarcoma 37 โดยทดลองใน หนูขาวยับยั้งได้ร้อยละ 70 – 100 จึงคาดว่าน่าจะเป็นเห็ดที่มีศักยภาพดีในอนาคตต่อไป
Article Credit : กรมวิชาการเกษตร l คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์